วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การสื่อสารกับการรับรู้และการเรียนรู้

       การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายหรือตีความต่อสิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย แล้วนำเข้าสู่สมองซึ่งอยู่ในรูปความจำและจะมีผลกระทบต่อการคิดและตัดสินใจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรซึ่งเรียกว่าการเรียนรู้แบบจำลองของการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร
การจำแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร
แบ่งได้ 3 ประเภท
1.การสื่อสารด้วยภาษาพูด
2.การสื่อสารด้วยท่าทางหรือสัญญาณ
3.การสื่อสารด้วยภาษาภาพ

การจำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง
1.สื่อสารทางตรง
2.การสื่อสารทางอ้อม

การจำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ
1.การสื่อสารทางเดียว
2.การสื่อสารสองทาง

การจำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร
1.การสื่อสารในตนเอง (ตนเองเป็นทั้งผู้รับและผู้ส่ง เช่นควบคุมอารมณ์ตนเอง)
2.การสื่อสารระหว่างบุคคล
3.การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล
.4.การสื่อสารมวลชน

กระบวนการสื่อสาร
    ความหมายของกระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆหรือการถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา ความรู้สึก เจตคติจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ด้วยการใช้ถ้อยคำ กริยาท่าทางหรือสัญลักษณ์


องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร
1.ผู้ส่ง แหล่งกำเนิดเนื้อหาสาระไปยังผู้รับ
2.เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ต่างๆที่จะถูกส่งไปยังผู้รับด้วยสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง
3.สื่อหรือช่องทาง ช่องทางต่างๆที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ
4.ผู้รับ บุคคล กลุ่มบุคคล

องค์กรที่รับรู้เนื้อหาจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่งหน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร
1.การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ
2.การสื่อสารเพื่อควบคุมสั่งการ
3.การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
4.การสื่อสารส่วนบุคคล
5.การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ
6.การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ